หน้าผากของผู้ชายจะมีลักษณะโหนกคิ้วสูงและหน้าผากที่บุบ และหน้าผากผู้หญิงจะมีความแบนและตรงขึ้นไป การทำให้หน้าผากมีความอวบอิ่ม และนูนได้รูปมากขึ้นนั้น สามารถทำได้โดยการ
1. การฉีดหน้าผาก คือการฉีดฟิลเลอร์จะอยู่ได้ประมาณ 6-12 เดือน แล้วแต่ชนิด หรือการฉีดไขมันตัวเองให้เต็มขึ้น ในกรณีซึ่งเป็นผู้ชายจะมีปัญหาเรื่องไขมัน ที่มีไม่เพียงพอ สรุปว่าการฉีดนั้นสามารถได้ผลในระดับนึง ดีขึ้นบ้างแต่ไม่ได้ถาวรหรือได้น้อยกว่าที่ควร แต่ถ้ามีการฉีดสารเหลวที่ไม่ถูกกฎหมายร่วมด้วยก็จะทำให้มีปัญหาหรืออักเสบเรื้อรังตามมา ผิวไม่เรียบและเป็นคลื่น
2. ส่วนวิธีการเสริมนั้น ก็มีเสริมได้ด้วยวัสดุหลายแบบ
1. เสริมด้วยซิลิโคนสำเร็จรูป
2. เสริมด้วยซิลิโคนหล่อเฉพาะบุคคล (Customize Implant)
3. การเสริมด้วยผงปูนหรือที่เรียกว่าโบนซีเมนต์ (Bone Remodeling)
ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แล้วแต่ความชำนาญของศัลยแพทย์ โดยทั่วไปการเสริมซิลิโคนสามารถทำได้โดยใช้ซิลิโคนสำเร็จรูปหรือซิลิโคนหล่อเฉพาะบุคคล (customize) เพื่อปรับพื้นให้เหมาะกับพื้นของหน้าผาก แต่ก็เป็นซิลิโคนเช่นกัน ข้อเสียคือมักจะมีการวางตำแหน่งที่ไม่ตรงตามความต้องการและในระยะยาวซิลิโคนเหล่านี้จะกดกระดูกบริเวณหน้าผากให้เป็นร่องและทำให้กระดูกหน้าผากบางลง (bone resorption) มากน้อยแล้วแต่ความแบนของหน้าผากหรือความหนาของซิลิโคน
ส่วนวิธีที่ศัลยแพทย์แนะนำคือการเสริมด้วยวัสดุที่ใกล้เคียงธรรมชาติของร่างกายอย่าง methyl methacrylate หรือ bonepolymer ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการผ่าตัดที่มีความความซับซ้อนและยุ่งยากมากกว่าวิธีการใช้แผ่นซิลิโคน เนื่องจากการทำผงกระดูกให้ได้รูปนั้น จะต้องปั้นผงกระดูกให้ได้รูป เพื่อให้เข้ากับพื้นผิวของหน้าผากแต่ละบุคคลได้อย่างพอดี และการปั้นให้ได้ตำแหน่งและความนูนที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็น ดูนูนด้านกลาง ดูด้านบนตามต้องการ สามารถทำได้ดี แต่ใช้ระยะเวลาการทำที่มากกว่าและที่สำคัญที่สุดต้องอาศัยความชำนาญของศัลยแพทย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีโอกาสที่จะไม่เรียบและเห็นขอบชัดได้ในระยะยาว วัสดุ methyl methacrylate หรือ bonepolymer เป็นวัสดุที่ปลอดภัยกับร่างกาย (Radiolucent Biological material) เนื่องจากเป็นวัสดุที่เอาไว้ซ่อมแซมกระดูกส่วนที่หายไปของกะโหลกศีรษะหรือกระดูกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ จึงมีความปลอดภัยสูงและเข้ากับกระดูกร่างกายดี ไม่เกิดปัญหาการกดทับให้กระดูกบางลง จึงเป็นวัสดุที่เหมาะสมอย่างยิ่งเพียงแต่ว่าการหัตถการนี้เป็นการจัดการที่ทำได้ค่อนข้างยากเท่านั้น
ส่วนวัสดุอื่นที่นำมาใช้คือ (Goretex PTFE) ก็มีศัลยแพทย์นำมาใช้เช่นกัน แต่ข้อเสียคือการปั้นรูปไม่ได้ และในระยะยาวมีการเกาะติดของเนื้อเยื่อร่างกาย (Fibrous Adhesion) อาจเกิดหน้าผากเรียบได้สูง การถอดออกทำได้ยาก และรูปร่างมักจะไม่ได้ตามที่ต้องการ